วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


        ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง มี 38 รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แอมเฟตามีน แมทแอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี และแอลเอสดี
       ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป มี 102 รายการที่สำคัญ คือ ใบโคคา โคคาอีน โคเดอีน ยาสกัดเข้มข้นของต้นฝิ่นแห้ง เมทาโดน มอร์ฟีน ฝิ่นยา (ฝิ่นที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่งเพื่อใช้ในทางยา) ฝิ่น (ฝิ่นดิบ ฝิ่นสุก มูลฝิ่น)
     ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยาและมียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ คือ ยารักษาโรคที่มียาเสพติด ประเภท 2 เป็นส่วนประกอบอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย
    ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 มี 32 รายการที่สำคัญ เช่น อาเซติค แอนไฮไดรด์ , อาเซติค คลอไรด์
    ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น ทุกส่วนของพืชกัญชา ทุกส่วนของพืชกระท่อม และพืชเห็ดขี้ควาย


 สิ่งเสพติด หรือ ยาเสพติด ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อ ไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยา เสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษา ผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ


ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด


ยาเสพติดเป็นปัญหาที่  “เป็นภัยคุกคาม กัดกร่อน บ่อนทำลาย”  ประเทศไทยส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล   และสังคมส่วนรวมในมิติต่างๆ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง    (แผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9. 2545 : 12 – 14)
  ผลกระทบต่อตัวบุคคล            ๑. ยาเสพติดทุกชนิด จะมีผลกระทบโดยตรงต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะด้านบุคลิกภาพและสุขภาพอนมัย  กรณีผู้ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดจะมีโอกาสติดและแพร่เชื้อเอดส์ถึงร้อยละ ๕๐  นอกจากนี้ตัวยาบางตัว  เช่น  แอมเฟตามีน    หากมีการใช้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวจะส่งผลกระทบ ต่อระบบจิตและประสาทส่วนกลาง และทำลายสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนทำให้ผู้เสพมีความสับสน กังวลใจและนอนไม่หลับ รวมถึงพฤติกรรมความรุ่นแรงต่างๆ
         ๒. ผู้ติดยาจะไม่ได้รับการยอมรับ      และถูกจำกัดสิทธิทางกฎหมายในการสมัครเป็นผู้แทนหรือสมาชิกทาง   การเมือง รวมทั้งการเข้ารับราชการ
        ๓. ผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นผู้ใช้แรงงาน      โดยเฉพาะกลุ่มผู้ขับขี่รถบรรทุกมักปฏิบัติงานด้วยความประมาทก่อให้เกิด อุบัติเหตุ และอุบัติภัยที่นำไปสู่ความเสียหายทั้งชีวิตและท
ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม        ๑. ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
        ๒. ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                     
         ๓. ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
        ๔. สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจาก โรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ
 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
         ๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
        ๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชนและสังคม        . ครอบครัวที่มีผู้ติดยา มักได้รับความเดือดร้อนจากผู้ติดยาในทุกด้าน นำไปสู่ความยุ่งยาก ขัดแย้ง แตกแยก และสิ้นเปลืองในการแก้ปัญหา
        . ปัญหา ยาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความหวาดระแวงจากประชาชน และสังคมในวงกว้างเนื่องจากเกรงว่าบุตรหลานจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือถูกประทุษร้ายจากผู้เสพยาที่มีอาการผิดปกติ                 
         . ผู้ติดยามักก่อให้เกิดอาชญากรรมต่อเนื่อง   ตั้งแต่การเข้าไปเกี่ยวข้องกับแหล่งอยายมุข   การลักเล็กขโมยน้อย การประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การพนันและอาชญากรรมต่าง ๆ
        . สำหรับผู้ค้าและหรือผู้เสพซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว    เมื่อ ถูกจับกุมและดำเนินการทางกฎหมาย จะส่งผลกระทบให้สมาชิกภายในครอบครัว ได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม   โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่อยู่ภายใต้การปกครองจะต้องออกจากโรงเรียน ซึ่งเป็นการทำลายอนาคตของประเทศชาติ
 ผลกระทบต่อการบริหารจัดการภาครัฐ
         ๑. คดียาเสพติดที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง       เป็นภาระต่องานด้านกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบตั้งแต่ในระดับตำรวจ  อัยการ  ศาล ราชทัณฑ์   และการคุมประพฤติ   นำไปสู่การปรับปรุงกฎหมาย การขยายงาน ขยายอัตรากำลัง  การขอผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น   และการก่อสร้างสถานที่รองรับผู้ติดยาเสพติด ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายของรัฐที่เพิ่มสูง และทำให้การดำเนินคดีด้านอื่นๆ เกิดความล่าช้า
        ๒. นอกจากนี้ ปัญหายาเสพติดได้ก่อให้เกิดการทุจริต     คอรัปชั่น   โดยเฉพาะการทุจริตต่อหน้าที่ การรับสินบน   การกลั่นแกล้งรีดไถ แสวงหาผลประโยชน์จากผู้กระทำความผิดซึ่งทำให้ประชาชนและสังคมเกิดความไม่ ศรัทธาและเชื่อมั่นในการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ